รูปแบบการตั้งชื่อตัวแปร (Naming Convention)

ในการตั้งชื่อตัวแปรในการเขียนโปรแกรมต่างๆ บางครั้งถ้าไม่มีการตกลงกันในทีมหรือองค์กรอาจจะทำให้การตั้งชื่อออกมา สะเปะสะปะ

จึงทำให้มีรูปแบบในการตั้งชื่อตัวแปรขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า Naming Convention ซึ่งทำให้เข้าใจและทำให้เกิดการตั้งชื่อไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีหลายแบบดังนี้

1.Hungarian Notation

รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่นิยมที่สุด ด้วยการกำหนดชื่อชนิดของตัวแปรเป็นตัวเล็กทั้งหมดตั้งแต่ 1 หรือ 3 ตัวอักษร แล้วแต่จะตกลงกัน และจึงมีชื่อตัวแปรที่ขึ้นต้นด้วยตัวใหญ่

เช่น strName, iPrice, intQuantity

 

2.Upper Case

เป็นการตั้งชื่อตัวแปรโดยการใช้ ตัวใหญ่ทั้งหมด ซึ่งเมื่อมีจำนวนตัวแปรมาก ๆ แล้วจะทำให้ยากต่อการแยกแยะ จึงไม่ค่อยมีใครใช้รูปแบบการตั้งชื่อแบบนี้ 

เช่น ID, NAME, COUNT 

 

3.Snake Case

ชื่อบอกแล้วว่าเป็นแบบ "งู" คือการตั้งชื่อตัวแปรโดยมี _ (Underscore) เป็นตัวคั่นคำ ซึ่งรูปแบบนี้จะทำให้การตั้งชื่อนั้นยาว 

เช่น webboard_count, int_count_data, user_master_type_id

 

4.Camel Case

รูปแบบ "อูฐ" คือการตั้งตัวแปรโดยการให้ คำแรกเป็นตัวเล็กทั้งหมด คำต่อมาให้ตัวแรกเป็นตัวใหญ่

เช่น userName, boardType, summaryValue

 

5.Pascal Case

ลักษณะคล้ายกับ Camel Case แต่รูปแบบนี้จะให้ตัวแรกของทุกคำเป็นตัวใหญ่

เช่น UserName, BoardType, SummaryValue

จำนวนคนดู : 3,387 วันที่สร้าง : 15/04/2021